วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

งานเดี่ยว

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการฟังดนตรี

การฟังดนตรีให้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ควรมีปัจจัยต่าง ๆ ที่สอดคล้อง และเหมาะสมกับการฟัง หากการทำหน้าที่ของปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฟังที่มีความบกพร่องก็ย่อมทำให้การฟังดนตรี ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

1. สภาพแวดล้อม ควรจัดสถานที่ แสงสี มีการออกแบบสถานที่อย่างถูกต้อง เหมาะสม สร้างบรรยากาศ มีการจัดรายการและเวลาการแสดงอย่างเหมาะสม

2. ตัวผู้ฟัง ควรมีความสอดคล้องกับการฟัง ดังนี้
2.1 มีรสนิยมสอดคล้องกับดนตรีที่รับฟัง
2.2 มีการสะสมทักษะพื้นฐานเพื่อการรับฟัง
2.3 มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องดนตรี วงดนตรี ประวัติผู้แต่ง ที่มาของเพลง และองค์ประกอบของบทเพลง

3. คุณภาพของนักดนตรี ขึ้นอยู่กับ
3.1 ความหมายของวาทยกร (Conductor) และพิธีกร
3.2 ความสามารถของผู้บรรเลง
3.3 การจัดระบบเสียง
3.4 การจัดรายการแสดง
3.5 ความพึงพอใจ (อารมณ์) ในการบรรเลงของนักดนตรี

4. คุณภาพของเครื่องดนตรีและอุปกรณ์การแสดง เครื่องดนตรี วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องเสียงต่าง ๆ ควรมีคุณภาพดี มีมาตรฐาน หากใช้เครื่องดนตรีที่เสื่อมคุณภาพ ย่อมทำให้เครื่องดนตรีไม่น่าฟัง

ดนตรีไทย

ดนตรีไทย มีลีลาของท่วงทำนอง จังหวะ รูปแบบการบรรเลง เป็นเอกลักษณ์ของไทย บรรยายถึงสภาพความเป็นอยู่ ภูมิประเทศ บุคลิกลักษณะนิสัยของคนไทย การดำรงชีวิต ชื่อดนตรีไทยมักเป็นคำโดด เช่น ซอ กลอง ฆ้อง โหม่ง เป็นต้น หากเครื่องดนตรีชิ้นใดที่ไทยนำมาจากต่างประเทศก็มักจะระบุแหล่งของประเทศที่นำเข้ามา เช่น ปี่มอญ ปี่ชวา กลองมลายู กลองมะริกัน เป็นต้น หรืออาจจะใช้ชื่อเฉพาะตามภาษาเดิม เช่น บัณเฑาะว์ รำมะนา เปิงมาง ดังนั้นเครื่องดนตรีที่มีชื่อเป็นภาษาไทยย่อมเป็นของไทยแท้มาแต่เก่าก่อน

เครื่องดนตรีไทย แบ่งออกเป็น 4 ประเภท โดยแบ่งตามวิธีการบรรเลง ดังนี้

1. เครื่องดีด เป็นเครื่องสายที่บรรเลงด้วยการดีด ได้แก่ จะเข้ พิณน้ำเต้า พิณเพี้ยะ หรือพิณเปี้ย ซึง และพิณอีสาน เป็นต้น
2. เครื่องสี เป็นเครื่องสายที่บรรเลงด้วยการสี ได้แก่ ซอด้วง ซออู้ ซอสามสาย และสะล้อ (เครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือ)
3. เครื่องตี เป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงด้วยการนำวัสดุมากระทบกัน มีทั้งประเภทดำเนินทำนอง และเครื่องกำกับจังหวะ ทั้งที่ตีด้วยไม้ และตีด้วยมือ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
3.1 เครื่องตีทำด้วยไม้ ได้แก่ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม กรับ เป็นต้น
3.2 เครื่องตีทำด้วยโลหะ ได้แก่ ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวง ฆ้องราว ฆ้องต่าง ๆ ฉาบ และ ฉิ่ง
3.3 เครื่องตีขึงหนัง ได้แก่ ตะโพน กลองทัด กลองชาตรี รำมะนา โทน เปิงมาง กลองแขก ฯลฯ เครื่องดนตรีขึงหนัง ทำหน้าที่ควบคุมจังหวะ โดยบรรเลงเป็นหน้าทับต่าง ๆ

4. เครื่องเป่า เป็นเครื่องดนตรี ที่ต้องใช้ลมเป่าให้เกิดเสียง ได้แก่ ปี่ และขลุ่ยต่าง ๆ

ไม่มีความคิดเห็น: